Welcome,
Guest
|
TOPIC: การตัดแต่งและการแบ่งเกรดเนื้อโค
การตัดแต่งและการแบ่งเกรดเนื้อโค 6 years 10 months ago #3
|
1. การตัดแต่งซากวัว
การตัดชิ้นเนื้อก่อนนำออกจำหน่ายไม่ว่าจะเป็นแบบท้องถิ่น หรือแบบสากลทำขึ้นเพื่อแยกชิ้นเนื้อที่มีคุณภาพแตกต่างกันออกจากกัน เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อเนื้อได้ตามคุณภาพและเหมาะสมกับราคาและยังเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคที่จะเลือกวิธีเตรียมเนื้อสัตว์เพื่อการบริโภคที่เหมาะสมกับคุณภาพของเนื้อสัตว์ การตัดแต่งชิ้นเนื้อแบบสากลจะต้องตัดแยกซากออกเป็น ชิ้นส่วนใหญ่สำหรับขายส่ง (wholesale cut) และ ชิ้นส่วนย่อยสำหรับขายปลีก (retail cut) ซึ่งให้ความสำคัญแก่ชนิดของกล้ามเนื้อที่มีคุณภาพในการบริโภคที่ดีเลวแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น เนื้อสันของวัวที่นิยมนำมาทำเป็นสเต๊ก มีความนุ่ม รสชาติ และคุณภาพในการบริโภคด้านอื่น ๆ ดีที่สุด จึงมีราคาแพงที่สุด เป็นต้น การตัดแต่งชิ้นเนื้อจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำชิ้นเนื้อไปใช้ประโยชน์ วิธีสากลที่นิยมใช้กันหรือนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย คือ วิธีของคณะกรรมการปศุสัตว์และเนื้อสัตว์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Livestock & Meat Board) ซึ่งมีวิธีการโดยย่อดังต่อไปนี้ 1.1 การตัดแยกซากออกเป็นชิ้นส่วนใหญ่ (Wholesale or primal cuts) เริ่มจากการแบ่งครึ่งซากวัว (halving) ตามแนวกึ่งกลางของกระดูกสันหลังตั้งแต่ขั้นตอนการฆ่าแล้วนำมาเก็บในห้องเย็น เมื่อนำมาตกแต่งซากจะแบ่งแต่ละซีกออกเป็นหนึ่งในสี่ (quartering) โดยตัดผ่าระหว่างซี่โครงที่ 12 และซี่โครงที่ 13 ได้ส่วนเนื้อวัวขาหน้า (beef forequarter) และส่วนเนื้อวัวขาหลัง (beef hindquarter) จากนั้นจึงนำเนื้อส่วนขาหน้าและเนื้อส่วนขาหลังมาตัดแต่งได้ส่วนประกอบดังนี้ 1.1.1 เนื้อวัวขาหน้า ประกอบด้วยส่วนประกอบ 5 ส่วนคือ 1) เนื้อส่วนคอและไหล่ (Chuck) 2) เนื้อส่วนกระดูกซี่โครง (Rib) หรือสันหลัง 3) เนื้อขาหน้า (Foreshank) 4) เนื้อใต้อก (Brisket) 5) เนื้อส่วนอกค่อนมาทางท้อง (short plate) เนื้อส่วนนี้ทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 52 ของน้ำหนักซาก 1.1.2 เนื้อวัวขาหลัง ประกอบด้วยส่วนประกอบ 5 ส่วนคือ 1) เนื้อขาหลัง (Round) 2) เนื้อสันส่วนบน (Sirloin) 3) เนื้อสันส่วนล่าง (Shortloin) 4) เนื้อพื้นท้อง (Flank) 5) ไต (Kidney) ไขมัน (Suet) และเนื้อสันใน (Hanging tenderloin) เนื้อส่วนนี้ทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 48 ของน้ำหนักซาก 1.2 การตัดชิ้นส่วนย่อย (retail cuts) ชิ้นส่วนใหญ่แต่ละส่วน จะมีการตัดให้เป็นชิ้นส่วนย่อยซึ่งมีขนาดเล็กลงเหมาะที่จะนำไปประกอบอาหารต่อไป ชิ้นเนื้อที่ตัดให้หนาประมาณ 3/4 - 1 นิ้ว มักเรียกว่าสเต๊ก (steak) ซึ่งมักมีขนาดใหญ่เท่าฝ่ามือ อาจมีกระดูกติดหรือไม่ติดก็ได้เหมาะสำหรับนำไปย่างไฟหรืออบแบบสเต๊กต่อไป เนื้อสเต๊กเหล่านี้ส่วนมากมาจากชิ้นส่วนใหญ่ที่มีกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ ๆ เช่น เนื้อส่วนคอและไหล่ เนื้อสัน เนื้อส่วนกระดูกซี่โครง เป็นต้น ชิ้นเนื้ออีกชนิดหนึ่งจะตัดให้มีขนาดก้อนใหญ่ แล้วตัดแต่งให้เรียบร้อยอาจมีกระดูกติดอยู่หรือไม่ก็ตาม เรียกว่า โรสต์ (roast) ซึ่งเหมาะที่จะนำเอาไปอบให้สุกทั้งก้อนก่อนที่จะนำเอาออกมาหั่นเป็นชิ้นเล็กแบ่งกันรับประทานต่อไป ชิ้นเนื้อก้อนขนาดเล็กอาจตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม เรียกว่า สตูว์ (stew) หรืออาจนำไปบดเป็นเนื้อบดก็ได้ การตัดเนื้อส่วนใหญ่ออกเป็นส่วนย่อย เนื้อวัวขาหน้า ประกอบด้วยส่วนประกอบ 5 ส่วนและตัดแต่งเป็นส่วนย่อยและตัดสำหรับทำอาหารได้คือ 1.เนื้อส่วนคอและไหล่ (Chuck) - เลาะเอากระดูกออก ไม่ต้องม้วนหรือรัด ใช้อบเรียก shoulder cold roast - เลาะกระดูกออก แล้วม้วน มัดให้แน่น เรียก chuck roll - หั่นเป็นสี่เหลี่ยมขนาด 2 นิ้ว ตุ๋นเปื่อย (stewing) 2. เนื้อส่วนกระดูกซี่โครง (Rib) - สันหลังทั้งชิ้น มัดเชือกให้แน่น แล้วอบ เรียก rib roast - สันหลังทั้งชิ้น ถอดกระดูกแล้วม้วนตัดเป็นแว่น ๆ หนา 3/4 นิ้ว เรียก rib eye roll steak 3.เนื้อขาหน้า (Foreshank) - ตัดเป็นชิ้น ๆ แล้วตุ๋นเปื่อย (stewing) 4.เนื้อใต้อก (Brisket) - สับเป็น ground beef 5.เนื้อส่วนอกค่อนมาทางท้อง (short plate) - ใช้ตุ๋น - ทำเป็นเนื้อสับ เนื้อวัวขาหลัง ประกอบด้วยส่วนประกอบ 5 ส่วนคือ 1.เนื้อขาหลัง (Round) - ทำสเต็ก เช่น top round steak 2.เนื้อสันส่วนบน (Sirloin) - ทำสเต็ก เช่น top loin butt steak 3.เนื้อสันส่วนล่าง (Shortloin) - เนื้อสันในทำสเต็ก เรียกว่า tenderloin steak , เนื้อสันนอกและสันในที่กระดูกสันหลังเป็นรูปตัว T เรียกว่า T-bone steak 4.เนื้อพื้นท้อง (Flank) - ทำสเต็ก - ทำเนื้อบด 1.3 การตัดแต่งแบบไทย หลังจากที่ฆ่าวัว เลาะเอาหนังออก ผ่าท้องและอกเอาอวัยวะ ภายในออกแล้ว ใช้มีดเลาะเอาขาหลังทั้งสองออกจากซาก โดยปาดตามรอยซอกของขาที่ติดกับลำตัว และทำนองเดียวกันกับขาหน้าทั้งสอง ส่วนที่เหลือคือโครงกระดูก ซี่โครง กระดูกสันหลังและสะโพก เลาะเอาเนื้อสันนอกและสันในออกแล้วจึงเลาะเอากระดูกซี่โครงออกทีละซี่ ส่วนที่เหลือคือเนื้อพื้นท้องเลาะเอาเนื้อแดงแยกออกต่างหากเป็นเนื้อขา เนื้อตะโพก เนื้อสัน เศษเนื้อ เอ็นพังผืด การตัดแต่งในขั้นตอนเลาะเอาเนื้อแดงออกนี้ทำที่ตลาดสดโดยผู้ที่มีความชำนาญมาก ใช้เวลาในการตัดแต่งมาก เป็นการดำเนินการแบบง่าย ๆ คุณภาพจะไม่สม่ำเสมอ และมีการปนเปื้อนสูง การฆ่าและตัดชิ้นเนื้อแบบไทยอาจไม่ตรงกับหลักการที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดในโรงฆ่าสัตว์และความตัดแต่งเพื่อจำหน่ายในตลาดสดเกิดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ได้สูง |
The administrator has disabled public write access.
|
Time to create page: 0.198 seconds
- คุณอยู่ที่:
-
หน้าแรก
-
Forum
-
แผนกเนื้อ
-
การตัดแต่ง
- การตัดแต่งและการแบ่งเกรดเนื้อโค